• Email: botong_hos@hotmail.com
  • Contact: 038-211148 038211288 03

เรื่อง: นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ

โดย: สิทธิชัย แสงจู
อ่าน: 159
วันที่โพสต์: 2023-06-08
ปรับปรุงโพสต์ล่าสุด: 2023-06-08
[ดาวน์โหลดแฟ้มประกอบ]

นโยบายและแนวปฏิบัติในการควบคุม การเข้าถึงสารสนเทศของหน่วยงาน ครอบคลุมทุกระดับ

                                         ของโรงพยาบาลบ่อทอง พ.ศ.๒๕66      

ตามประกาศโรงพยาบาลบ่อทอง เรื่องนโยบายในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ของโรงพยาบาลบ่อทอง กำหนดให้มีการจัดทำแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ของโรงพยาบาลบ่อทอง เพื่อให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงพยาบาลบ่อทอง เป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ มีความมั่นคงปลอดภัย และสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องรวมทั้งป้องกันปัญหาที่อาจจะ เกิดขึ้นจากการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง และจากการถูกคุกคามจากภัยต่าง ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อกระทรวงสาธารณสุขนั้น

โรงพยาบาลบ่อทอง จึงกำหนดแนวปฏิบัติในการใช้ระบบสารสนเทศให้มีความมั่นคงปลอดภัย

ดังนี้ข้อ ๑ คำนิยาม

“หน่วยงาน” หมายถึง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมอนามัย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมสนับสนุนบริการ สุขภาพ กรมสุขภาพจิต สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวมถึงหน่วยงานภายในที่อยู่ภายใต้สังกัดของ ทุกกรม

“ผู้ใช้งาน” หมายถึง ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ ผู้ดูแลระบบ ผู้บริหารองค์กร ผู้รับบริการ หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายของหน่วยงาน

ผู้บริหาร” หมายถึง ผู้มีอำนาจในการบังคับบัญชาในหน่วยงาน ได้แก่ ปลัดกระทรวง อธิบดี หรือเทียบเท่า ผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน/ศูนย์/กอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หัวหน้ากลุ่มงาน เป็นต้น

“ผู้บริหารระดับสูงสุด” หมายถึง ปลัดกระทรวง อธิบดีหรือเทียบเท่า ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หัวหน้ากลุ่มงาน ของแต่ละหน่วยงาน

ผู้ดูแลระบบ” (System Administrator) หมายถึง ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า หน่วยงาน ให้มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลรักษาหรือจัดการระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใด

“เจ้าของข้อมูล” หมายถึง ผู้ได้รับมอบอำนาจจากหัวหน้าหน่วยงานให้รับผิดชอบข้อมูลของ ระบบงาน โดยเจ้าของข้อมูลเป็นผู้รับผิดชอบข้อมูลนั้น ๆ หรือได้รับผลกระทบโดยตรงหากข้อมูลเหล่านั้น เกิดสูญหาย

สิทธิของผู้ใช้งาน” หมายถึง สิทธิทั่วไป สิทธิจำเพาะ สิทธิพิเศษ และสิทธิอื่นใดที่เกี่ยวข้อง กับระบบสารสนเทศของหน่วยงาน โดยหน่วยงานจะเป็นผู้พิจารณาสิทธิในการใช้สินทรัพย์

สินทรัพย์” หมายถึง ข้อมูล ระบบข้อมูล ระบบเครือข่าย และทรัพย์สินด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยงานถือครอง

ระบบเครือข่าย” หมายถึง ระบบที่สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารหรือการส่งข้อมูลและ สารสนเทศระหว่างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ของหน่วยงานได้ ได้แก่ ระบบเครือข่ายแบบมีสาย (LAN) และระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless LAN)

การเข้าถึงหรือควบคุมการใช้งานสารสนเทศ” หมายถึง การอนุญาต การกำหนดสิทธิ หรือ การมอบอำนาจให้ผู้ใช้งานเข้าถึง หรือใช้งานเครือข่ายหรือระบบสารสนเทศ ทั้งทางอิเล็กทรอนิกส์และทางกายภาพ รวมทั้งการอนุญาตเช่นว่านั้นสำหรับบุคคลภายนอก ตลอดจนอาจกำหนดข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าถึงโดยมิชอบ เอาไว้ด้วยก็ได้

ความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ” หมายถึง การธำรงไว้ซึ่งความลับ ความถูกต้อง ครบถ้วน และสภาพพร้อมใช้งานของสารสนเทศ รวมทั้งคุณสมบัติอื่น ได้แก่ ความถูกต้องแท้จริง ความรับผิด การห้ามปฏิเสธความรับผิด และความน่าเชื่อถือ

เหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย” หมายถึง การเกิดเหตุการณ์ สภาพของบริการ หรือ เครือข่ายที่แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ ที่จะเกิดการฝ่าฝืนนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัย หรือมาตรการ ป้องกันที่ล้มเหลว หรือเหตุการณ์อันไม่อาจรู้ได้ว่าอาจเกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัย

สถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ไม่พึงประสงค์หรือไม่อาจคาดคิด” หมายถึง สถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ไม่พึงประสงค์หรือไม่อาจคาดคิด ซึ่งอาจทำให้ระบบของหน่วยงาน ถูกบุกรุกหรือโจมตี และความมั่นคงปลอดภัยถูกคุกคาม